Member since Sep '20

Working languages:
Thai to English
English (monolingual)

Andrew Barclay
Thai-English specialist plus plus

Bangkruai, Nonthaburi, Thailand
Local time: 08:06 +07 (GMT+7)

Native in: English (Variants: British, Australian, UK, US) Native in English
  • Give feedback
  • Send message through ProZ.com
Feedback from
clients and colleagues

on Willingness to Work Again info

This service provider is not currently displaying positive review entries publicly.

No feedback collected
Account type Freelance translator and/or interpreter, Identity Verified Verified member
Data security Created by Evelio Clavel-Rosales This person has a SecurePRO™ card. View now.
Affiliations This person is not affiliated with any business or Blue Board record at ProZ.com.
Services Editing/proofreading, Translation, Native speaker conversation
Expertise
Specializes in:
Tourism & TravelGeography
AgricultureCooking / Culinary
Cosmetics, BeautyEnvironment & Ecology
Business/Commerce (general)Sports / Fitness / Recreation
MusicMedical (general)

KudoZ activity (PRO) Questions asked: 2
Payment methods accepted Wise, Payoneer, Skrill, Veem | Send a payment via ProZ*Pay
Portfolio Sample translations submitted: 1
Thai to English: CEO Vision
General field: Other
Detailed field: Aerospace / Aviation / Space
Source text - Thai
CEO Vision
สงวน ตรีเจริญวิวัฒน์
ประสิทธิภาพ“สุวรรณภูมิ" เชื่อมไอทีสู่เป้าหมายเดียวกัน
จากการวางระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของสนามบินสุวรรณภูมิในโครงการ AIMS (Airport Information Management System) ที่ต้องมีระบบไอทีมากกว่า 45 ระบบเข้ามาเกี่ยวข้องนั้น สงวน ตรีเจริญวิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทสามารถ คอมเทค จำกัดย้ำไว้อย่างชัดเจนว่า แม้ระบบต่างๆของสนามบินสุวรรณภูมิจะประกอบด้วยระบบไอทีหลายระบบด้วยกัน แต่ทั้งหมดก็มีเป้าหมายเดียวกัน คือ "ประสิทธิภาพในการบริหารสนามบินสุวรรณภูมิ" เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งการใช้พื้นที่,ความสะดวกรวดเร็วจากการรวมบริการทั้งหมดไว้ด้วยกัน รวมถึงการเป็นเครื่องมือด้านปฏิบัติการที่สามารถนำสู่ผลกำไรที่ดีขึ้นด้วย
ขณะเดียวกันเบื้องหลังของระบบหลักๆต่างๆแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ประกอบด้วย 1.กลุ่มระบบฐานข้อมูลการปฏิบัติการสนามบินหรือเรียกว่า AODB (Airport Operations Database) ที่ต้องเชื่อมโยงไปยังระบบย่อยต่างๆในสนามบิน ซึ่งถือเป็นงาน Front Office ทั้งหมด
2.กลุ่มระบบฐานข้อมูลบริหารสนามบิน AMDB (Airport Management Data- Base) เป็นงาน Back Office หรืองานระบบหลังบ้านทั้งในส่วนงานบัญชีการเงิน งานธุรการ บุคคล การจัดซื้อจัดจ้าง เป็นต้น
และ 3 เป็นกลุ่มระบบเช็คอิน เรียกว่า Check in Cute ที่ถือเป็นส่วนสำคัญเพราะถ้าระบบไม่เวิร์คแล้วรับรองจะเห็นลูกค้าต่อคิวกันยาวเหยียดในการเช็คอินแน่นอน ดังนั้นในส่วนนี้ต้องสามารถรองรับเซิร์ฟเวอร์ของหลายแอร์ไลน์ได้ พอถึงเวลาจะใช้ก็เข้าล็อคอินยูสเซอร์เนม พาสเวิร์ดได้ทันที
มากกว่านั้นยังมี ระบบ LDCS เป็น Departure Control ให้สามารถเช็คผู้โดยสารแต่ละไฟลต์ ได้ว่า มีใครบ้าง รวมถึง ระบบ PBRS ที่ช่วยยืนยันตรวจสอบกระเป๋าของผู้โดยสาร เช่น ถ้าผู้โดยสารไม่ขึ้นเครื่องก็สามารถเอากระเป๋าออกได้
รวมไปถึงระบบบริหารข้อมูลการบิน FIMS (Flight Info Management System) เป็นระบบย่อยของระบบหลัก AODB ซึ่งทำหน้าที่จัดการข้อมูลทั่วไปทั้งเที่ยวไปและกลับ โดยเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลองค์กรสากลในสนามบินอื่นๆโดยระบบต่างๆเหล่านี้จะมีตัวเชื่อมต่อเชื่อมโยงระบบเข้าด้วยกันทั้งหมดภายใต้ระบบ EAI (Enterprise Application Integrations)
สงวนยืนยันความมั่นใจในความพร้อมของระบบทั้งหมดอีกว่า เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นแพ็คเกจที่ใช้งานอยู่แล้วในสนามบินชั้นนำ อย่างเช่นระบบ AODB ก็เคยใช้ในเอเธนส์ ซึ่งทำสนามบินใหม่ขึ้นมารองรับกีฬาโอลิมปิก รวมทั้งสามารถดำเนินการได้เสร็จก่อนเปิดใช้สนามบินเพียง 6 เดือน เช่นเดียวกับระบบ AMDB ที่ใช้อุปกรณ์ SAP ก็ใช้ในสนามบินหลายแห่งอยู่แล้วเหมือนกัน
นอกจากนี้ยังมีระบบเน็ตเวิร์คกระจายไปทั่วสนามบินเพื่อเชื่อมระบบที่มีทั้ง 40 ตึกเข้าหากัน ตลอดจนการเชื่อมกับอาคารผู้โดยสารด้วยก่อนเชื่อมทั้งหมดเข้าไปที่ Data Center ซึ่งในส่วนนี้จะเป็นห้องคอมพิวเตอร์สำหรับการควบคุม Data Center และ Network Management Center
เช่นเดียวกับระบบหลักใน 3 เซ็กเตอร์ที่กลุ่มสามารถดูแลรับผิดชอบอยู่ นั่นคือ ระบบ AOC (Airport Operation Center) หรือศูนย์ควบคุมการปฏิบัติการสนามบินที่จะคอยตรวจตราควบคุมอุปกรณ์ทุกส่วนทุกระบบของสนามบินตลอด 24 ชม. ครอบคลุมถึงการปฏิบัติการด้านภาคพื้นดินภาคพื้นอากาศ รวมทั้งอาคารผู้โดยสารตลอดจนระบบความปลอดภัยในสนามบิน
ระบบ SCC (Security Control Center) เป็นระบบที่ใช้ในห้องควบคุมระบบรักษาความปลอดภัย และ ระบบ CCC (Crisis Control Center) เป็นระบบที่ใช้ในห้องควบคุมพร้อมบัญชาการของผู้บริหารเพื่อใช้ตัดสินใจโดยมีระบบสื่อสารสั่งการไปยังทุกส่วนได้
ทั้งนี้ทั้งนั้น สงวน ได้กล่าวย้ำให้เห็นกลไกสำคัญสู่การวางรากฐานไอทีในสนามบินสุวรรณภูมิว่า ที่ผ่านมาสนามบินดอนเมืองรองรับผู้โดยสารได้แค่ 30 ล้านคน ขณะที่วันนี้ในเฟสแรกของสนามบินสุวรรณภูมิรองรับได้ 45 ล้านคน ซึ่งตามแผนทั้งหมดจะมีหลายเฟสในช่วง 20 ปีจะสามารถรองรับได้มากถึง 120 ล้านคน
สอดรับกับตัวสถานีของสนามบินสุวรรณภูมิก็รองรับผู้โดยสารด้วยพื้นที่ขนาดใหญ่กว่าสนามดอนเมืองเป็นสองเท่า ซึ่งการบริหารจัดการในพื้นที่ใหญ่ขนาดนี้จึงจำเป็นต้องมีระบบไอทีเข้ามาบริหารให้การใช้พื้นที่มีประสิทธิภาพและผู้โดยสารได้รับความสะดวกรวดเร็ว
"สมัยใหม่แอร์พอร์ตมักจะมีขนาดใหญ่ ทำอย่างไรให้ผู้โดยสารได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุด และใช้เวลาสั้นที่สุด สบายรวดเร็ว ได้รับการบริการที่ดีที่สุด นั่นคือเป้าหมาย จริงๆ แล้วทุกๆ แอร์ไลน์อยากรวดเร็ว ไม่นานก็ออก ค่าใช้จ่ายจะต่ำเพราะถูกชาร์จค่าจอด จึงต้องมีระบบไอทีเข้ามาบริหารทั้งสิ้น"สงวนกล่าวสรุป
/////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
เชาวรัตน์ เชาวน์ชวานิล
อสังหาฯบูมสาธารณูปโภคต้องเอื้อ

ในฐานะที่ได้คลุกคลีกับงานประมูลที่ดินในวงการอสังหาริมทรัพย์ ด้วยตำแหน่งผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย หรือ บสท. เชาวรัตน์ เชาวน์ชวานิล จึงมีข้อมูลของที่ดินอย่างรอบด้านทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด อาณาบริเวณรอบๆ สุวรรณภูมิก็เป็นหนึ่งในความรอบรู้ของเขาผู้นี้ แต่วิสัยทัศน์ที่จะเขาได้กล่าวถึงในคราวนี้ จะเป็นแนวคิดเชิงสร้างสรรค์ที่อยากจะให้สนามบินแห่งใหม่ไปในแนวทางที่สมควรจะเป็น
“แนวทางที่เราจะจัดสร้างศูนย์กลางจากสนามบินสุวรรณภูมินั้น อาจไม่จำเป็นต้องหยุดแค่เพียงการเป็นศูนย์กลางขนส่งและโลจิสติกส์เท่านั้น แต่อาจจะเป็นศูนย์กลางการประชุมและนิทรรศการ หรือ MICE ก็ได้ หรือศูนย์กลางของสนามกอล์ฟชั้นดีก็น่าจะทำได้เช่นกัน หรือการเป็น Kitchen of the world การจัดแพ็คเก็จจิ้ง สินค้าในส่วนของ Perishable ก็น่าสนใจ
สิ่งที่จะต้องให้ความสนใจนั้น ไม่ใช่มีเฉพาะทางอากาศเพียงอย่างเดียว แต่จะต้องมีทางบก และทางน้ำอีกด้วย แต่ที่ผ่านมานั้น ก็ยังไม่ค่อยมีการอินเตอร์เฟสกันมากนัก สิ่งที่จะต้องคอยดูไปพร้อมกันนั่นก็คือ จะต้องชูบทบาทให้รถไฟ สัมปทานทางด้านรถไฟนั้นจะต้องเป็นแนวทางที่จะต้องเร่งรัดขึ้นมา รัฐบาลมีหน้าที่ซึ่งต้องหารางระบบรถไฟ เข้ามาให้เอกชนเข้ามาวิ่ง รัฐบาลก็มีหน้าที่แต่เพียงเก็บค่าต๋งจากคนที่มาให้สัมปทานเท่านั้น ที่ผ่านมานั้น ถ้าหากรถไฟทำตลาดได้มากกว่าที่เป็นอยู่แล้ว ก็จะช่วยทำให้สถานภาพของกิจการรถไฟดีกว่าที่เป็นอยู่ในขณะนี้ ที่ดินย่านรัชดาของทางรถไฟนั้น น่าจะเป็นจุดที่ทุกฝ่ายควรให้ความสนใจแน่นอน ถ้ามีการปรับกิจการในส่วนนี้ให้มียุทธวิธีในเชิงการแข่งขันมากยิ่งขึ้น เราอาจจะคิดว่ากิจการของรถไฟนั้นต้องขาดทุน แต่อันที่จริงแล้ว ถ้าหากบริหารดีๆ และมีการนำเอาแนวทางจัดการที่ดินอสังหาริมทรัพย์เข้ามาใช้อย่างเต็มระบบแล้ว ถึงแม้จะต้องเปิดให้รถไฟชั้น 3 เป็นแบบขึ้นฟรี ก็ทำให้มีกำไรได้ หรือหากมีการจัดการให้มีบริการอย่างดีเข้ามาเสริมแล้ว ต่อให้ราคาสูงขึ้นมา ก็มีคนมาใช้บริการอยู่ดี
ในส่วนของการขนส่งสินค้านั้นนอกจากเราจะใช้ระบบรางเข้ามาช่วยให้การขนส่งคุ้มค่ากว่าที่เป็นอยู่แล้ว การขนส่งสินค้านั้นก็อาจจะใช้การขนส่งด้วยรถไฟความเร็วสูงหรือ High Speed Train เข้ามาร่วมได้อีกส่วนหนึ่ง ที่ดินที่ดีของเรานั้นมีอยู่ทั้งที่บางพลี บางบ่อ บางเสาธง รวมถึงโซนทางฉะเชิงเทราด้วย ชลบุรี พัทยาจะได้อานิสงส์ด้วย นอกจากนั้นยังมีโครงการบ้านจัดสรร 4-500 หลังรวมอยู่ด้วย ที่มีการเทคโอเวอร์เข้ามา ต้องยอมรับว่าสมุทรปราการมีข้อจำกัดในการจัดวางโครงการอยู่มาก เพราะติดในการเป็นโซนนิ่งของแต่ละพื้นที่นั่นเอง และยังมีกฎเกณฑ์เข้มงวดอีกด้วย
ในส่วนของการขนส่งสินค้านั้นนอกจากเราจะใช้ระบบรางเข้ามาช่วยให้การขนส่งคุ้มค่ากว่าที่เป็นอยู่แล้ว การขนส่งสินค้านั้นก็อาจจะใช้การขนส่งด้วยรถไฟความเร็วสูงหรือ High Speed Train เข้ามาร่วมได้อีกส่วนหนึ่ง ที่ดินที่ดีของเรานั้นมีอยู่ทั้งที่บางพลี บางบ่อ บางเสาธง รวมถึงโซนทางฉะเชิงเทราด้วย ชลบุรี พัทยาจะได้อานิสงส์ด้วย นอกจากนั้นยังมีโครงการบ้านจัดสรร 4-500 หลังรวมอยู่ด้วย ที่มีการเทคโอเวอร์เข้ามา ต้องยอมรับว่าสมุทรปราการมีข้อจำกัดในการจัดวางโครงการอยู่มาก เพราะติดในการเป็นโซนนิ่งของแต่ละพื้นที่นั่นเอง และยังมีกฎเกณฑ์เข้มงวดอีกด้วย”
ที่ดินรอบข้างสนามบินสุวรรณภูมิ แม้ว่าในช่วงก่อนหน้าจะเปิดใช้สนามบินสุวรรณภูมินั้น อาจจะยังไม่คึกคักเท่าที่ควรก็ตาม แต่เชาวรัตน์ก็เชื่อมั่นอย่างเต็มเปี่ยมว่า หลังจากที่สนามบินแห่งใหม่ ได้ลงหลักปักฐานกันอย่างมั่นคงแล้ว ราคาที่ดินหลายต่อหลายแปลงที่เก็งกันไว้แล้วว่าจะมีการเคาะขายเพื่อการลงทุนนั้น จะได้สร้างความชัดเจนขึ้นมาเสียที เพราะในขณะนี้มีหลายต่อหลายแปลงแล้วที่ บสท.ได้เตรียมการซื้อขายไว้ในระดับหนึ่งแล้ว
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ปรีติ เหตระกูล
ATCสุดไฮเทคที่สุวรรณภูมิ
ปรีติ เหตระกูล ผู้จัดการใหญ่ บริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด(บวท.) กล่าวถึง โครงการหอบังคับการบินว่า วิทยุการบินฯ ได้นำระบบอุปกรณ์ควบคุมจราจรทางอากาศที่มีประสิทธิภาพและใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยล่าสุด มาใช้ในการควบคุมและติดตามอากาศยานและยานพาหนะที่เคลื่อนที่ในบริเวณทางวิ่ง ทางขับ และลานจอดอากาศยาน ตลอดจนอากาศยานที่กำลังบินอยู่โดยรอบท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
“ระบบนี้มีการออกแบบ โดยนำแนวคิดการบูรณาการ (System Integration) มาใช้ เพื่อให้สนามบินสุวรรณภูมิเป็น Intelligent Airport เราได้นำข้อดีของระบบคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ซึ่งมีหน้าที่สื่อสารกับนักบิน ติดตามอากาศยาน ประมวลผลข้อมูลการบิน และสร้างฟังก์ชั่นที่เป็นเครื่องมือในการควบคุมและติดตามอากาศยาน นำมาเชื่อมโยง เพื่อให้การทำงานเป็นแบบอัตโนมัติ ทำให้ควบคุมและติดตามอากาศยานได้อย่างต่อเนื่อง ปลอดภัย มีประสิทธิภาพ และรวดเร็ว สามารถใช้ศักยภาพของสนามบินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ และเพิ่มความรวดเร็วในการเดินทาง ตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของเจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศให้สูงขึ้น” นายปรีติกล่าว
สำหรับโครงการดังกล่าวใช้งบประมาณ1393.69ล้านบาท โดยวิทยุการบินฯ ได้คัดเลือกบริษัท ทาเลสจากฝรั่งเศสเป็นผู้ผลิตโดยการทำงานของระบบอุปกรณ์ควบคุมจราจรทางอากาศ ประกอบด้วย
- ระบบเรดาร์ปฐมภูมิ (Primary Surveillance Radar System) และ ระบบเรดาร์ทุติยภูมิ (Secondary Surveillance Radar System) ซึ่งใช้ในการติดตามเป้าอากาศยานระยะภายในรัศมี 80 และ 250 ไมล์ทะเลจากสนามบิน ตามลำดับ
- ระบบเรดาร์ติดตามเป้าหมายบริเวณภาคพื้นสนามบิน ( Advance Surface Movement Radar System) ซึ่งใช้ในการติดตามเป้าอากาศยานและยานพาหนะที่เคลื่อนที่อยู่บริเวณทางวิ่ง ทางขับ และลานจอดอากาศยานของสนามบิน
- ระบบควบคุมการสื่อสาร (Voice Communication Control System) ซึ่งใช้ในการควบคุมระบบวิทยุสื่อสารที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ควบคุจราจรทางอากาศกับนักบิน
- ระบบประมวลผลข้อมูลเรดาร์ (Radar Data Processing System) ซึ่งใช้ในการประมวลผลเป้าอากาศยานจากเรดาร์หลาย ๆ สถานี เพื่อระบุ ตำแหน่งและชื่อเรียกขานอากาศยานนั้น ๆ
- ระบบประมวลผลข้อมูลการบิน (Flight Data Processing System) ทำหน้าที่รวบรวมและประมวลผลข้อมูลการบินเพื่อใช้พิจารณาและตัดสินใจในการควบคุมจราจรทางอากาศ ตลอดจนมีระบบคาดการณ์การเกิดอุบัติเหตุ และแจ้งเตือนเจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศ ให้ทราบล่วงหน้า
- ระบบแสดงผลข้อมูล (Controller Working Position) ทำหน้าที่แสดงตำแหน่งและชื่อเรียกขานของอากาศยาน ตลอดจนข้อมูลการบิน ที่ได้รับการประมวลผลจากระบบประมวลผลข้อมูลการบิน
นอกจากนั้นระบบติดตามอากาศยานยังสามารถเชื่อมต่อกับระบบอื่น ๆ ได้แก่ระบบควบคุมแสงไฟสัญญาณบริเวณสนามบิน (Airfield Lighting System) และระบบสารสนเทศสนามบิน (Airport Information Management System, AIMS) ของบทม. เพื่อให้ระบบสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้และสามารถทำงานได้โดยอัตโนมัติ และยังมีระบบสำรองฉุกเฉินติดตั้งที่หอบังคับการบินสำหรับกรณีฉุกเฉิน (Emergency Tower) เพื่อมิให้การควบคุมและติดตามต้องหยุดชะงักและเพื่อความปลอดภัยในการบิน
////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
วิชัย รักศรีอักษร
“ดาวน์ทาวน์คอมเพล็กซ์-ดิวตี้ฟรีสุวรรณภูมิ"
วิชัย รักศรีอักษร ประธานบริหาร บริษัท คิงเพาเวอร์ กล่าวถึง โครงการ ดิวตี้ฟรีคอมเพล็กซ์ ที่สนามบินสุวรรณภูมิว่า หลังจากทอท.เป็นผู้ตกแต่งหน้าบ้านทั้งหมดมาแล้ว คิงเพาเวอร์ก็เข้ามาตกแต่งด้านใน ตลอดจนบริหารดูแลร้านค้านับเป็นร้อยกว่าราย ให้มีความเป็นยูนิตี้ เพราะต้องจัดหมวดหมู่ของประเภทร้านค้าด้วย เช่นโซนบูติคแบรนด์เนม โซนสินค้าไทย โซนอาหารและเครื่องดื่ม เหล่านี้เป็นต้น ซึ่งเราวางเลย์เอาท์ร้านค้าให้เป็น วอล์ค ทรู เพื่อให้สามารถเดินรื่นไหลไปได้ทั่วถึง แต่ก็ต้องจัดโซนให้สอดคล้องกัน เช่นร้านค้าระดับโลกที่เข้ามา จะมาอยู่ตรงข้ามกับร้านนวดเท้า ก็คงดูไม่ดี และแบรนด์เนมที่เข้ามาคงไม่ยอมแน่
วิชัยระบุว่า ค่อนข้างต้องดูแลเป็นอย่างมาก สำหรับการจัดโซนร้านค้าที่สุวรรณภูมิ เพื่อต้องการยกระดับสนามบินขึ้นมาด้วย เฉพาะค่าออกแบบพื้นที่ก็ใช้จาก 3 ประเทศคืออังกฤษ ออสเตรเลียและไทย ใช้งบไปแล้วกว่า 100 ล้านบาท โดยคัดเลือกผู้ประกอบการร้านค้าเก่าจากดอนเมือง คัดมาประมาณ 90% แต่บางรายที่ไม่ผ่านมาตรฐานก็ขอให้ไปรวมกับเจ้าอื่นที่มีแบรนด์ เนื่องจาก สนามบินเป็นระดับ 5 ดาว ถ้าเลือกร้านค้าแบบ 3 ดาวมาก็คงไม่ได้
นอกจากนี้ยังลงทุนไปกว่า 400 ล้านบาท จัดตั้ง สถาบันฝึกอบรมคิงเพาเวอร์ ขึ้นเป็นครั้งแรก แถบบางบ่อ ซึ่งไม่ไกลจากสนามบิน เพราะมองว่าเรื่องของพนักงานขาย ที่จะต้องพบปะกับลูกค้าโดยตรงมีความสำคัญมาก ปัจจุบันมีพนักงานขายกว่า 4 พันคน ซึ่งจะต้องพูดได้มากกว่า 1 ภาษา และก็ได้พยายามฝึกให้มีภาษาอื่นๆ เข้ามาเสริมด้วย คืออังกฤษ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี ตลอดจนการเรียนรู้เทคนิคการขาย โดยวิชัยตั้งเป้าหมายว่าพนักงานของคิงเพาเวอร์ ต้องมีมาตรฐานสูงไม่แพ้ดิวตี้ฟรีของสิงคโปร์-ฮ่องกง
ด้าน คิง เพาเวอร์ คอมเพล็กซ์ ที่เพิ่งเปิดบริการบางส่วนเมื่อ 18 สิงหาคมที่ผ่านมา ถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ใจกลางเมือง บนพื้นที่ทั้งหมด 31 ไร่ ริมถนนรางน้ำ - ศรีอยุธยา โดยใช้งบประมาณกว่า 4,500 ล้านบาทในการก่อสร้างและตกแต่ง ให้เป็นคอมเพล็กซ์ที่สมบูรณ์แบบ โดยแบ่งเป็น คิง เพาเวอร์ ดาวน์ทาวน์ ดิวตี้ ฟรี มอลล์ , โรงแรมระดับ 4 ดาว, และ อาคารสำนักงาน โดยโซนดิวตี้ ฟรี มอลล์และภัตตาคารรามายณะเปิดบริการมาตั้งแต่ 18 สิงหาคม
ทั้งนี้ คิงเพาเวอร์ ดาวน์ทาวน์ ดิวตี้ ฟรี พร้อมให้บริการนักท่องเที่ยวมากถึงวันละ 20,000 คน ส่วน ภัตตาคาร “รามายณะ” ให้บริการบุฟเฟ่ต์นานาชาติ ขนาด 548 ที่นั่ง และยังมี โรงมหรสพ “คิงเพาเวอร์ เธียเตอร์” สำหรับจัดแสดงศิลปวัฒนธรรมไทย หุ่นละครเล็ก คิงเพาเวอร์ โจหลุยส์ ซึ่งสามารถรับนักท่องเที่ยวได้ครั้งละประมาณ 578 ที่นั่ง
ในส่วนของอาคารสำนักงานสูง 9 ชั้นซึ่งเป็นที่ทำการของหน่วยงานต่าง ๆ ในกลุ่ม พร้อมเริ่มทำการตั้งแต่ 9 ตุลาคม 2549 เป็นต้นไป และส่วนของโรงแรมระดับ 4 ดาว ขนาด 400 ห้อง เป็นอาคารสูง 21 ชั้น ที่มีรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบโรงแรมในเมืองผสมรีสอร์ท จะพร้อมเปิดให้บริการในเดือน พฤษภาคม 2550 ภายใต้ชื่อ “โนโวเทล คิงเพาเวอร์ กรุงเทพ”
“คิง เพาเวอร์” ใช้วางกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดแบบครบวงจรในการเปิดตัวคอมเพล็กซ์ ด้วยงบประมาณกว่า 185 ล้านบาท ทั้งในส่วนของการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ ส่งเสริมการขาย ครอบคลุมสื่อโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร อินเทอร์เน็ต สื่อกลางแจ้ง ฯลฯ โดยคาดว่าจะมีกลุ่มลูกค้านักท่องเที่ยวเข้าใช้บริการกว่า 295,000 คน และตั้งเป้าทำรายได้กว่า 1,100 ล้านบาท ภายหลังการเปิดบริการในครึ่งปีแรก
/////////////////////////////////////////////////////////////
ชาญชัย สิงห์โตโรจน์
THAI Cargo สู่สุวรรณภูมิ
ชาญชัย สิงโตโรจน์ ผู้อำนวยการฝ่ายพาณิชย์สินค้า บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน)กล่าวว่าโครงการขนส่งสินค้าและไปรษณียภัณฑ์ที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ใช้งบลงทุนของการบินไทยเป็นเงินประมาณ 3,800 ล้านบาท สำหรับการก่อสร้างอาคารคลังสินค้าและอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการให้บริการ การก่อสร้างตัวอาคารและติดตั้งระบบอุปกรณ์ต่างๆ เสร็จสิ้นไปแล้วทั้ง 100% ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการทดสอบระบบและซักซ้อมความพร้อมของพนักงานในการให้บริการ ซึ่งในช่วงเวลาที่เหลือนี้ จะมีการทดลองการปฏิบัติร่วมกันกับลูกค้าและหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การขนถ่ายสินค้าในเขตปลอดอากรเป็นไปโดยราบรื่น เมื่อท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเริ่มดำเนินการ
พื้นที่ในการให้บริการขนถ่ายสินค้าและไปรษณียภัณฑ์ ที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิครอบคลุมพื้นที่ 152,200 ตารางเมตร ซึ่งใหญ่กว่าพื้นที่ของคลังสินค้าปัจจุบัน ที่ท่าอากาศยานดอนเมืองประมาณ 50% ในพื้นที่ทั้งหมดนี้ จัดแบ่งออกเป็น คลังสินค้าระหว่างประเทศ 90,000 ตารางเมตร คลังสินค้าภายในประเทศ 10,500 ตารางเมตร และศูนย์ขนถ่ายไปรษณีย์ 1,600 ตารางเมตร และได้เตรียมพื้นที่สำรองสำหรับการขยายอาคารคลังสินค้าในอนาคตอีก 52,000 ตารางเมตร
คลังสินค้าระหว่างประเทศ และคลังสินค้าภายในประเทศ จะสามารถรองรับสินค้าได้ ถึง 1 ล้านตัน ต่อปี และเมื่อรวมพื้นที่ที่สำรองไว้สำหรับการขยายคลังสินค้า จะสามารถรองรับสินค้าได้ถึง 1.34 ล้านตัน ต่อปี
จุดเด่นของการให้บริการที่คลังสินค้าระหว่างประเทศแห่งใหม่ คือ เป็นผู้ให้บริการอาคารขนถ่ายสินค้าที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาค และการบริหารจัดการคลังสินค้าแบบเขตปลอดอากร (Customs Free Zone) ซึ่งทำให้เกิดความสะดวกสำหรับการเคลื่อนย้ายสินค้าภายใน Free Zone เพราะไม่ต้องดำเนินพิธีการศุลกากร จนกว่าจะเคลื่อนย้ายสินค้าออกจากบริเวณ Free Zone โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าผ่านแดน (Transit Shipment) ซึ่งจะสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่จะสนับสนุนให้กรุงเทพฯ เป็นศูนย์กลางการขนถ่ายสินค้าในภูมิภาคนี้
ฝ่ายฯ มีคณะทำงานขึ้นเพื่อศึกษาและวางแนวทางการบริหารจัดการคลังสินค้าแบบเขตปลอดอากร และได้พัฒนาระบบสารสนเทศให้สามารถรองรับกิจกรรมต่างๆ ภายใต้การบริหารจัดการดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากพื้นที่ให้บริการขนส่งสินค้าและไปรษณีย์ และอาคารคลังสินค้าระหว่างประเทศ ซึ่งตั้งอยู่ในเขตปลอดอากร (Customs Free Zone) มีพื้นที่ให้บริการในเฟสแรก 90,000 ตารางเมตร แบ่งพื้นที่การบริหารจัดการสินค้าออกเป็น 4 พื้นที่ คือ พื้นที่สำหรับให้บริการสำหรับสายการบินลูกค้า ส่วนที่ 2 เป็นพื้นที่สำหรับให้บริการสำหรับการบินไทยและสายการบินพันธมิตร ส่วนที่ 3 เป็นพื้นที่ให้บริการสินค้าของสดหรือ Perishable Center และท้ายสุดคือพื้นที่สำหรับให้บริการสินค้าเร่งด่วน โดยมีการสำรองพื้นที่ของอาคารด้านติดกับลานจอดอากาศยานประมาณ 52,000 ตารางเมตร สำหรับการจัดเรื่องตู้สินค้ารอการลำเลียงไปสู่อากาศยาน (Line – up Under Roof ) เพื่อป้องกันการเสียหายของสินค้าจากความร้อนของแสงแดดและจากการเปียกฝน การจัดแบ่งพื้นที่บริการออกเป็น 4 ส่วนดังกล่าวจะให้การจัดการสินค้าผ่านการบริการของการบินไทยได้อย่างสะดวกรวดเร็ว โดยเฉพาะพื้นที่ให้บริการของสด ซึ่งมีการปรับอากาศตลอดทั้งพื้นที่ 9,000 ตารางเมตรนั้นมีตู้เก็บสินค้าที่ควบคุมอุณหภูมิไว้ในระดับ -20 ถึง 20 องศาเซลเซียส ตามแต่ชนิดของสินค้า ทำให้สินค้าของสดจะสามารถคงคุณภาพได้ตลอดทั้งกระบวนการ อีกทั้งการที่พื้นที่ ทั้ง 4 ส่วนอยู่ในอาคารเดียวกันและเชื่อมต่อกันจะช่วยให้เกิดความสะดวกในการให้บริการและสามารถดูแลความปลอดภัยได้อย่างสมบูรณ์อีกด้วย
ที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมินั้น จะมีการติดตั้งสิ่งอำนวยความสะดวกในการให้บริการเพิ่มขึ้นมากมายกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันทั้งระบบ Barcode ใช้ในการระบุสินค้า การใช้ Elevated Transfer Vehicle (ETV) ที่มีประสิทธิภาพสูง สำหรับการเคลื่อนย้าย จัดเก็บ และจัดเตรียมสินค้าสำหรับรอการส่งออกในทุก Zone และติดตั้งเครื่อง X- ray ซึ่งสามารถ X-ray ได้ทั้ง Unit Load Device (ULD) และมีสมรรถนะสูง เพื่อความปลอดภัยของผู้โดยสาร สินค้า และอากาศยาน สามารถตรวจสอบสินค้าได้อย่างรวดเร็ว การใช้ระบบ Automatic Storage and Retrieval System (AS/RS) ในการจัดการจัดเก็บและนำสินค้าขาเข้า จากชั้นเก็บโดยอัตโนมัติ จะช่วยให้การบริการจัดการคลังสินค้าเป็นไปด้วยความถูกต้องและ
ถ้าจะกล่าวถึงระบบโลจิสติกส์ การบินไทย เป็นเพียงส่วนประกอบหนึ่งของโลจิสติกส์ หรือของโซ่อุปทานของลูกค้าเท่านั้น คือเป็นส่วนของการขนส่ง จากสนามบินสู่สนามบิน โดยเพิ่มเติมการบริการจัดการและจัดเก็บสินค้าในระหว่างที่สินค้ายังไม่ได้ลำเลียงสู่เที่ยวบิน และที่ปลายทางก่อนที่ผู้รับสินค้าจะมารับสินค้าไปเท่านั้น ดังนั้น หากจะกล่าวในภาพรวมที่การบินไทยจะรองรับระบบโลจิสติกส์ในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ก็คงเป็นเรื่องของกระบวนการทำงานที่สอดคล้องกันภายในของแต่ละส่วนงาน การควบคุมการบริการด้วยระบบมาตรฐาน ให้ราบรื่น ต่อเนื่อง ตั้งแต่การรับสำรองพื้นที่ระวาง การบริหารจัดการพื้นที่ระวาง การชั่งน้ำหนัก ตรวจสอบป้ายฉลาก จำนวนและการบรรจุหีบห่อว่าถูกต้องตามที่ได้ทำสำรองระวางบรรทุกมาหรือไม่ แข็งแรงตามข้อกำหนดเพื่อการขนส่งหรือไม่ เพื่อให้พร้อมที่จะทำการขนส่งจริงๆ ก่อนจะกำหนด Barcode สำหรับสินค้านั้นๆ และนำไปจัดเรียงในอาคารเพื่อรอการลำเลียงเที่ยวบิน สำหรับสินค้า ทั้งที่ถูกจัดเรียงบนแผ่น/ตู้บรรทุกสินค้าเรียบร้อย พร้อมที่จะลำเลียงขึ้นบรรทุกบนอากาศยาน และที่ยังไม่ได้จัดเรียงดังกล่าว มีการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างการบินไทย Free Zone Operator และศุลการกร ผ่านระบบ Cargo Movement Control System และ Customs EDI และมีระบบควบคุมข้อมูลการขนส่งของการบินไทยเอง เพื่อให้การบริการเป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ ซึ่งสามารถพิสูจน์ได้ด้วยรางวัลต่างๆ ที่ได้รับ เช่น ในปีนี้ THAI Cargo ได้รับรางวัลสถานประกอบการดีเด่น ระดับประเทศ ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ประจำปี 2549 จากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน ได้รับการลงคะแนน จากผู้ประกอบการขนส่งสินค้าทางอากาศทั่วโลก สำรวจโดยนิตยสาร แอร์คาร์โก้ เวิลด์ (Air Cargo World) ให้ THAI Cargo เป็น หนึ่งในสายการบินที่เป็นเลิศในการให้บริการขนส่งสินค้าทางอากาศ สำหรับปี 2549 นอกจากนั้น ยังได้รับการเลือกจากสมาพันธ์สมาคมผู้ประกอบการขนส่งสินค้าทางอากาศ ภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก (FAPAA – Federation of Asia-Pacific Air Cargo Association) ให้เป็น 1 ใน 3 สายการบินที่ดีที่สุด ในการให้บริการขนส่งสินค้า สำหรับปี 2549
เนื่องจากที่ตั้งของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ที่สามารถพัฒนาให้เชื่อมโยงกับการขนส่งทางอื่นๆ ได้สะดวก ทำให้เกิดการขนส่งสินค้าได้หลากหลาย จากการขนส่งแบบ Multi-Modal อำนวยประโยชน์แก่ธุรกิจต่างๆ โดยรวม และการมีการบริหารจัดการการขนส่งสินค้าและเขตปลอดอากร (Customs Free Zone) ซึ่งทำให้เกิดความสะดวกสำหรับการเคลื่อนย้ายสินค้าภายในFree Zone โดยไม่ต้องดำเนินพิธีการศุลกากรจนกว่าจะเคลื่อนย้ายสินค้าออกจาก Free Zone ดังที่ได้กล่าวถึงแล้วในตอนต้น จึงก่อให้เกิดความสะดวกอย่างยิ่งสำหรับสินค้าผ่านแดน (Transit Shipments) อีกทั้งการที่รัฐบาลมีนโยบายเปิดเสรีทางการบิน ซึ่งจูงใจให้สายการบินต่างๆ ใช้สุวรรณภูมิเป็นจุด Transit ดังนั้นสุวรรณภูมิจึงมีโอกาสสูงที่จะกลายเป็นศูนย์กลางการขนถ่ายผู้โดยสารและสินค้า (Air Transportation Hub) ของภูมิภาคนี้
หากเป็นไปตามคาดการณ์ ผู้ที่ประกอบธุรกิจการขนส่งสินค้าทางอากาศของไทยจะต้องปรับตัว และสร้างความสามารถในเชิงแข่งขันกับสายการบินต่างๆ ที่จะทำการบินเข้ามากรุงเทพฯ เพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกัน สายการบินก็ต้องพัฒนาคุณภาพการบริการให้ตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้ามากขึ้น
และระบบ Customs Free Zone จะทำให้ผู้ประกอบการคลังสินค้า สามารถเพิ่มการบริการโดยอาศัยประโยชน์จาก Free Zone และจะมีผู้ประกอบธุรกิจประกอบผลิตภัณฑ์จากชิ้นส่วนนำเข้า เช่น ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ จากแหล่งผลิตต่างๆ นำมาประกอบรวมเป็นสินค้าภายใน Free Zone ก่อนที่จะ Re export ไปยังประเทศที่จะทำการประกอบ Final Product อีกทอดหนึ่ง ซึ่งวิธีการนี้จะทำให้ต้นทุนการผลิตลดต่ำลง เพราะสามารถเลือกแหล่งผลิตชิ้นส่วนแต่ละชิ้นที่มีต้นทุนต่ำที่สุดได้
///////////////////////////////////////////////////////////////////////////
ศุภชัย แก้วศิริ
มั่นใจCFZสุวรรณภูมิโต6ล้านตันใน5ปี
ศุภชัย แก้วศิริ ผู้อำนวยการฝ่ายเทคโนโลยีและสารสนเทศ บริษัทไทย แอร์พอร์ต กราวด์ เซอร์วิสเซส หรือ TRAGS กล่าวว่าโครงการ “คาร์โก ฟรี โซน”(CFZ) ว่าCFZที่สนามบินสุวรรณภูมิน่าจะรองรับสินค้าได้อยู่ที่ประมาณ 1.5 ล้านตันจากศักยภาพต่ำสุดที่ 3 ล้านตันและน่าจะถึงจุดสูงสุดที่ 6 ล้านตันในปี 2010 โดยในปัจจุบันนั้น แอร์คาร์โกธรรมดามีการขยายตัวอยู่ในอัตราที่ 5% ต่อปีในขณะที่ แอร์คาร์โกที่เป็นพัสดุด่วนนั้นขยายตัวสูงมากกว่า 10% ต่อปีโดยเฉพาะในปีนี้มีการขยายตัวสูงมากเกือบถึง 20% ในผู้ให้บริการพัสดุด่วนต่างประเทศบางราย
การเปิดใช้สนามบินสุวรรณภูมิจะถือว่าเป็นครั้งแรกที่จะมีการนำเอาระบบคลื่นวิทยุที่ใช้ในการตรวจสอบพัสดุภัณฑ์ หรือ RFID (Radio Frequency Identification)(RFID) เข้ามาใช้เป็นครั้งแรก อันจะเป็นการปฏิวัติการตรวจสอบสินค้าและพัสดุภัณฑ์ เป็นครั้งแรก โดยระบบ RFID นี้จะช่วยเสริมสร้างประสิทธิภาพในการรับส่งสินค้าอย่างรวดเร็วกว่าระบบบาร์โค้ดที่ทำผ่านมาอย่างมาก แม้ว่าระบบนี้จะต้องใช้ต้นทุนในการจัดหาสูงขึ้นมาบ้าง และตัว Tags ที่ต้องนำมาติดกับตัวสินค้าจะมีราคาสูงอยู่บ้างก็ตาม แต่เราก็พร้อมจะนำมาเพื่อสร้างประสิทธิภาพในการดำเนินการของ CFZ แห่งนี้
ซึ่ง TAGS มีความเชื่อมั่นอย่างยิ่งว่า ด้วยอัตราการเติบโตของการขนส่งสินค้าทางอากาศของเอเชียแปซิฟิก ยังมีความเชื่อมั่นว่าประเทศไทยยังมีจุดยุทธศาสตร์ที่ดีและยังคงเป็นหนึ่งในเอเชียอยู่เหมือนเดิม ถึงแม้ว่าจะมีหลายฝ่ายเริ่มไม่มั่นใจในสถานะภาพของไทยบ้างแล้วก็ตาม และด้วยความเป็นจุดยุทธศาสตร์ดีของเอเชียของไทยนี้เองจะเป็นจุดขายสำคัญในวงการขนส่งสินค้าทางอากาศของโลกโดยที่ผ่านมาเอเชียแปซิฟิก ยังต้องถือว่าเป็นภูมิภาคที่สำคัญของวงกางขนส่งสินค้าทางอากาศอยู่ต่อไป โดยในส่วนของการขนส่งจากอเมริกาเหนือมายังภูมิภาคนี้นั้น ทั้งนี้ปัจจัยแปรผันเช่นการผันผวนของค่าเงินหยวนของจีน อาจจะมีผลกระทบต่อวงการขนส่งทางแถบนี้อยู่บ้าง การขนส่งจากเอเชียแปซิฟิกไปยังอเมริกาเหนือนั้น มีอัตราเติบโตประมาณ 5.6% ต่อปี ก่อนหน้าปี 2547 ที่ผ่านมา โดยเมื่อปีที่แล้วการขนส่งทางอากาศย่านนี้มีอัตราเติบโตสูงขึ้นถึง 17.4% ทีเดียว ในขณะที่การขนส่งจากอเมริกาเหนือมายังเอเชียแปซิฟิกนั้น จะมีผลกระทบจากค่าเงินดอลล่าร์ที่ตกต่ำลง ความต้องการสินค้าเช่นอาหารแช่แข็งของญี่ปุ่นอันเป็นปัจจัยสำคัญ ซึ่งมีอัตราเติบโต 27.3% ในปี 2004 ที่ผ่านมา
ส่วนทางด้านเอเชียแปซิฟิกไปยังยุโรปนั้น ถือได้ว่าเป็นเส้นทางที่ไม่ค่อยมีการแข่งขันกันสูงมากนัก ดังนั้นธุรกิจการขนส่งสินค้าแถบนี้จึงได้รับกำไรเป็นกอบเป็นกำตามสมควร โดยตลาดทั้งหมดนั้นจะเติบโตในอัตรา 5.9% ต่อปี นับแต่ปี 1999-2004 ที่ผ่านมา โดยการขนส่งจากเอเชียไปยังยุโรปนั้น จะอยู่ในอัตราเติบโต 4.6% ขณะที่การขนส่งจากยุโรปมายังเอชัยนั้น ก็จะอยู่ในอัตรา 7%
นายศุภชัยยังได้กล่าวถึงโครงการ ITX-FZ ฝ่ายผู้รับดำเนินโครงการว่า ภายหลังจากได้รับมอบหมายให้ดำเนินโครงการ ITX-FZ ในสนามบินสุวรรณภูมิเมื่อต้นปี 2548 ด้วยมูลค่าโครงการ 700 ล้านบาท TAGS ได้ดำเนินการตามแผนงานและทำการส่งมอบโครงการไปแล้วเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2549 นับเป็นความสำเร็จของ TAGS ในฐานะผู้รับผิดชอบโครงการที่ดำเนินโครงการได้ลุล่วง แม้จะพบอุปสรรคบางประการ ทั้งนี้เพราะโครงการ ITX-FZ นี้เป็นโครงการแห่งชาติ ที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศโดยรวม ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจึงพยายามดำเนินงานอย่างดีที่สุด
นอกจากนี้ภายใต้เงื่อนไขของสัญญา TAGS ยังได้รับโอกาสให้ดูแลโครงการต่อเนื่องอีก 2 ปี เพื่อให้การบริการที่ดีที่สุดหลังการเปิดใช้สนามบินสุวรรณภูมิ โดยโครงการ ITX-FZ จะสร้างประโยชน์หลายประการให้กับประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นการสร้างให้ไทยเป็น ศูนย์กลางการขนส่งในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ความสามารถในการบริการคลังสินค้าในแบบศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จซึ่งทำให้ผู้ใช้บริการได้รับความรวดเร็ว การจัดทำ Value Added Activities เพื่อเพิ่มมูลค่าในบริเวณคลังสินค้าให้มีความสามารถในการ Support Feature Expansion of FTA การเพิ่ม โอกาสทางธุรกิจ ให้กับ Stakeholders ความสามารถในการประหยัดค่าใช้จ่าย Cost Saving และ Improve Skill & Standard ซึ่งประโยชน์ต่างๆ เหล่านี้จะส่งผลดีต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยโดยตรง โดยในแต่ละปีจะมีผู้ประกอบการจากทั่วโลกทำการขนส่งสินค้าผ่านคลังสินค้าเป็นมูลค่ามหาศาล โดยคาดการว่าในปี 2010 คลังสินค้าของสนามบินสุวรรณภูมิจะรองรับการขนส่งสินค้าได้ปีละ 3 ล้านตัน (โดยศักยภาพของ ITX-FZ ทำให้สนามบินสุวรรณภูมิรองรับการขนส่งสินค้าได้ถึงปีละ 6 ล้านตัน)
โครงการ IT System and X-ray System for cargo Free Zone หรือเรียกสั้นว่าโครงการ ITX-FZเป็นโครงการจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อใช้ในการบริหารจัดการค
Translation - English
CEO’s Vision
Mr. Sa-nguan Tricharoenwiwat, Managing Director of Samart Comtec Company Limited
The effective Ability of “Suvarnabhumi” to link IT into a Common Goal
With regard to the establishment of the information technology to be used at Suvarnabhumi Airport via the AIMS (Airport Information Management System) project with the involvement of more than 45 IT systems, Mr. Sa-nguan Tricharoenwiwat, Managing Director of Samart Comtec Company Limited clearly stated that all gear toward the same goal, even though various IT systems are involved with all other systems at Suvarnabhumi Airport. This is “The Management Efficiency of Suvarnabhumi Airport” to ensure maximum benefit regarding the areas used, comfort received from all services including the available operation equipment aimed at making better profit for the airport.
In addition, the main operation system is divided into 3 areas:
1. AODB (Airport Operations Database) which is connected to all sub-systems in the airport known as the “Front Office”.
2. AMDB (Airport Management Database) or “Back Office” which includes accounting, administrative issues, personnel, procurement, etc.
3. Check in system or “Check in Cute”, an important part of the system. If this does not work well, long queues will be expected to be commonly seen. As a result, the system must be able to support servers from different airlines. When they need to use it, the username and password can just be promptly logged in.
Moreover, the LDCS system is also available serving as the Departure Control used to identify ‘who is who’ on each flight while PBRS will help confirm the inspection of passenger’s luggage; such as, the luggage will be unloaded if the passenger is not on board.
Flight Info Management System (FIMS) is a subsystem of the AODB and is responsible for managing round-trip information by linkage with an International Databases in other airports. These mentioned systems have the link to connect to all systems under Enterprise Application integrations (EIA).
Mr. Sa–nguan also confirmed his confidence on the system’s well-preparedness, as this is an operational system package being used in a number of leading airports; for example, the usage of AODB was adopted by Athens Airport to mainly serve the Olympics, and the system was able to be operated within 6 months after the airport’s official opening. Also, AMDB which is operated via SAP has been used in a number of airports.
Furthermore, the airport is equipped with a network system in order to link together all systems from those 40 buildings as well as make a connection to the passenger terminal before connecting all systems to the Data Center, a computer room used to control the Data Center and Network Management Center,

Similarly, the main system in the following 3 sectors is under our responsibility: (1) AOC (Airport Operation Center) or airport operation control center, which is responsible for 24-hour checking and controlling of equipment from all sections and systems. The responsibility also involves both air and ground operations, as well as the passenger terminal and airport’s security system. (2) SCC (Security Control Center), a system used in the security control room, and (3) CCC (Crisis Control Center), a system used by the management to control/supervise/make decisions through a communication system with all sections.
In the meantime, Mr. Sa-nguan also pinpointed the significance of the foundation of IT at Suvarnabhumi Airport in which the capacity at Don Muang Airport could only serve 30 million passengers while 45 million passengers are expected to be served in this first phase and up to 120 million passengers are expected in a number of phases planned for the next 20 years.
“The service area at Suvarnabhumi is double the size than that at Don Muang Airport and the management of these large scale areas requires an IT system for more effective area management as well as passenger’s comfort.
“Nowadays, a large scale is a matter to consider when constructing an airport. Therefore, how can we provide the best experience for passengers with the shortest time usage and most convenient and best service out of this large area? That is our target. Actually, airlines want to work fast at the airport as parking aircraft. Service is normally charged. The charge is low if the parking time is less. Information Technology must, therefore, be brought to help in all management systems” Mr. Sa-nguan said.
Mr. Chaowarat Chaochawanil
Real estate boom, needs support from a public utility
Regarding the long-term experience with the land bid and on behalf of the Deputy Managing Director of the Thai Asset Management Corporation (TAMC), Mr. Chaowarat Chaochawanil is quite well rounded on land issues both in Bangkok and other provinces. Areas around Suvarnabhumi Airport are one that he is familiar. However, the following vision will gear toward the creative proposed idea in order that Suvarnabhumi Airport can be developed as it should be.
“To promote Suvarnabhumi, it should not be focused only as a transport and logistics center. Rather, it could be developed into a Conference and Exhibition Center for the MICE industry. Even a good golfing center, a kitchen of the world, and packaging service regarding perishable items are all interesting.”
The more interesting issue is not only about the air service, but also the ground and water services, which have not long been inter-phased from the past experience. What is also needed to keep an eye on is the train service concession that needs to be encouraged. The government’s responsibility is to provide a railway for those from the related private sectors, and the commission will be paid to the government. If good marketing has been done by the State Railway of Thailand, then a good return will be received. The State Railway of Thailand’s land around the Ratchada area interests many people. If this is managed properly using appropriate competitive strategies as well as adopting entire immovable property management, they could make a profit even though 3rd class seats are given for free. In addition, if a variety of good services is added, people would be willing to spend the money despite the service fare is increased.
As far as the shipment of cargo is concerned, and besides the adoption of a railway system to ensure a more worthy form of transport, a High Speed train can also be introduced. The land areas around Bang Phli, Bang Bo, Bang Saothong, Chachoengsao, Chonburi and Pattaya including the already takeover of 4-500 units of housing development would also benefit from these initiatives. However, the project initiatives around Samut Prakan seem quite difficult because of the zoning policy and some strict regulations.
Regarding the land around Suvarnabhumi Airport, it is expected that after the official opening, several pieces of land will be opened for auction so as to use for capital assets. TAMC is also planning to bid on certain pieces of land.

Mr. Preeti Hetrakul
ATC, the real “HI-TECH” at Suvarnabhumi Airport.
Referring to the project concerning the Aviation Control Tower, Mr. Preeti Hetrakul, General Manager of the Aeronautical Radio Company Limited mentioned that he has adopted the latest High Tech and effective air traffic control equipment to control and monitor all of the aircrafts and vehicles occupied on the runways, taxiways, and concourses as well as all aircrafts flying over and around Suvarnabhumi Airport.
“This system is designed with the combination of an integrated system attempting to make Suvarnabhumi Airport “an Intelligent Airport”. We brought into account the various strengths of the computer system used to communicate with pilots, monitor aircrafts, process aviation data, as well as build up functions to control and monitor aircrafts to establish a linked automatic operation. This system will ensure the effective, consistent, safe and fast aircraft control and monitor in order that maximum usage of the airport’s capacity can be made. It also helps reduce possible accidents and travel time while upgrading staff’s skill efficiency regarding air traffic control” Mr. Preeti said.
Approximately 1393.69 million Baht was allocated for that mentioned project. The French company named “Talese” has been selected as the producer by the Aeronautical Radio Company Limited through the following numbers of air traffic control systems:
- Primary Surveillance Radar System and Secondary Surveillance Radar System which is used for targeted aircrafts monitoring at the radius between 80 and 250 nautical miles from the airport accordingly.
- Advance Surface Movement Radar System used to monitor all aircrafts and vehicles moving along the runways, taxiways, and concourses of the airport.
- Voice Communication Control System is used in radio communication control of traffic control officers and pilots.
- Radar Data Processing System is used for data processing on targeted aircrafts from various radar stations for the identification of that particular aircraft.
- Flight Data Processing System is used to collect and process information regarding aviation in order to analyze and make proper decisions on air traffic control. The system also includes an accident forecast system and a warnings in advance to air traffic control staff.
- Controller Working Position is used to display the aircrafts position and identification including aviation information processed from the aviation data processing system while connecting to other systems i.e. Airfield Lighting System, Airport Information Management System (AIMS) aimed to exchange information and develop the ability for automatic operation. The emergency reserved system is also installed at the Emergency Tower to avoid controlling and checking pauses while supporting aviation safety reasons.

Mr. Wichai Raksri-aksorn
“Downtown Complex – Duty-Free Suvarnabhumi”
Refered to his related duty-free complex project, Wichai Raksri-aksorn , Group Chairman and C.E.O. of the King Power Group of Companies said that after the external decoration is completed, King Power will be responsible for the interior decoration including over 100 shops’ administration aimed at building up a “unity zone”, as varieties of products need to be organized based on the type of shops and other reasons; for example, boutique brand name zone, Thai products zone, food and beverage zone, etc. Those shops are designed as a walk-through lay-out for thorough smooth shopping. However, zones must be related and themed i.e. a world well-known shop situated opposite to a traditional Thai massage salon might not be a good idea and the owners of those brand name products would not be happy.
Wichai also added that one must take serious action regarding zoning at Suvarnabhumi, as airport upgrading is also an issue. Over 100 million Baht of budget has been used on the areas usage designed by English, Australian and Thai designers, and 90 % of the entrepreneurs are from those who own shops at Don Muang Airport. However, there are those who have been disqualified due to their certified standard, but they will be asked to join in business operations with those well known brand name shops because this is a 5-star airport, and it might be a little difficult to welcome those 3-star ones.
We have invested more than 400 million Baht to establish the first King Power Training Institute situated at Bang Bo District nearby the airport. The reason is that salespersons as well as their relationship with customers are a very crucial issue. Now, we have more than 4,000 salespersons that must be able to speak more than one language while searching for an opportunity for some other language ability; such as, English, Chinese, Japanese, Korean and also sales techniques. Mr. Wichai targets that King Power’s staff must pose higher standards and will not be second to those in Singapore and Hong Kong.
The King Power Complex, which was partly opened on August 18, is considered a new downtown tourist spot located on an area of 31 rai by the Rang Nam-Sri Ayutthaya Road, using 4,500 million Baht for construction and decoration just to be “the perfect complex”. The internal structure is divided into sections as follows: King Power Downtown’s Duty-Free Mall, 4-star hotel, and office building. The Duty-Free Mall zone including Ramayana Restaurant is now open.
In addition, King Power Downtown Duty-Free can serve more than 20,000 visitors per day while the Ramayana Restaurant will be able to serve customers with 548 seats in an international buffet style. Visitors will also enjoy various arts and cultural presentations including King Power’s Jo Louis’ puppet show at the King Power Theatre with a capacity of 578 seats per show.
The 9-storey office building, which is supposed to be related agencies offices, will start to officially operate on October 9, 2006, while the 21-storey building of the 4-star hotel with 400 rooms, a city combining with resort styled hotel, will be ready for service in May 2007, under the official name of “Novotel King Power Bangkok”.
King Power has planned a complete marketing strategy for the complex opening with a budget of 185 million Baht. This amount of money includes public relations, sales promotion through the media; such as, TV, radio, newspaper, magazine, Internet and billboard. The expected number of customers is estimated at around 295,000 with over 1,100 million Baht for targeted income during the first half year.
Charnchai Singtorote
Thai Cargo heading to Suvarnabhumi
Charnchai Singtorote, Director of the Commercial Division, Thai Airways International Public Company Limited said that the cargo services at Suvarnabhumi Airport will be implemented under Thai Airways International’s budget of 3,800 million Baht mainly used for the construction of the cargo terminal and equipment. At the present time, the construction part and equipment installation is 100 % complete and is undergoing a testing period with customers and related agencies to ensure that cargo shipments in the Customs Free Zone runs smoothly during the official airport opening.
The Cargo Service areas at Suvarnabhumi Airport cover approximately 152,200 sq. meters which is considered about 50% larger than the existing one at Don Muang Airport. The areas include 90,000 sq. meters’ for the International Cargo Terminal, 10,500 sq. meters of the Domestic Cargo Terminal,1,600 sq. meters of the Mail Center, and 52,000 sq. meters of empty areas reserved for expansion in the future.
The Domestic and International Cargo Terminals are able to handle approximately 1 million tons of cargo per year, and 1.34 million tons is expected if the reserved areas for expansion are included.
The outstanding point of this International Cargo Terminal service is that it is a regional service provider in cargo shipment including warehouse management via the “Customs Free Zone that can provide cargo shipments within the free zone because a customs check- in is not required unless moving out of the free zone is made, especially for transit shipments. This practice will support the government’s policy as one that tries to promote Bangkok as a “Regional Cargo Hub”.
The working team is available to study and plan on the Customs Free Cargo Management and Administration Zone. An information and technology system has been developed to effectively support the number of activities under this related management and administration within the 90,000 sq. meters of the first phase’s cargo transport services, and the Passenger Terminal Building located in the Customs Free Zone. The administrative area is divided into 4 zones as follows: 1. Customers Airline Zone; 2. Thai Cargo and Alliance Zone; 3. Perishable Center, and lastly, the Express Cargo Zone. The 52,000 sq meters of reserved areas by the building next to the concourse will be made for Line-up under Roof Management to avoid certain damages due to heat and moisture. Those divided zones will help ensure quick service, especially the Perishable Center, an air-conditioned 9,000 sq.-meter center with temperature controlled containers (-20 – 20 C depending on the type of cargo/products) will be available to keep products fresh. In addition, those 4 divided zones will remain in the same connected compound to perfectly convenience and ensure maximum security for our operation.
At Suvarnabhumi Airport, facilities have been put in place to support the increased different services. These include a Barcode system for product identification, Elevated Transfer Vehicle (ETV) for effective cargo movement, storage as well as cargo preparation for export. All zones’ will be installed with a high efficiency x-ray machine with a capacity to x-ray the Unit Load Device (ULD), passenger/cargo and guarantee aircraft safety, and ensure fast inspection. Furthermore, the Automatic Storage and Retrieval System (AS/RS) help ensure a perfect and accurate installment of the inbound shipment.
Regarding logistics, Thai Airways plays a role as the only element in the logistics issues or customer’s demand chain. That means Thai Airways acts whole as a transport agency from airport to airport providing cargo management and storage services during the waiting time and at the destination when cargo is waiting to be received. Therefore, the relation between Thai Airways and the logistics issue at Suvarnabhumi Airport is about the working process, service control through standardized system for a smooth and consistent service starting from areas reservation, areas management, cargo weighting, tag/number/package inspection which is about accuracy checking, and to see if those packages are strong enough, and also to see if items comply with transport regulations.
After that, a barcode will be used to identify items, and then they will be orderly arranged and stored in a warehouse waiting for a cargo flight. During the process, a connection with Thai International Airway’s transport information control system, Free Zone Operator and Customs check through the Cargo Movement Control System and Customs EDI will be made to ensure the fast and convenient service of Thai Cargo. This service efficiency can be proven by the number of awards received. Examples include the following: Thai Cargo was, this year, awarded with the national outstanding award regarding safety, health and environmental awareness of the year 2006 from the Department of Labor Protection and Welfare, Ministry of Labor. Also, Thai Cargo was awarded as one of the excellent airlines regarding cargo shipment services of the year 2006, voted by a number of global entrepreneurs regarding air cargo shipment, surveyed by Air Cargo World. In addition, Thai Cargo has been selected by the Federation of Asia-Pacific Air Cargo Association (FAPAA) to be one out of the 3 best airlines of the year 2006 regarding cargo shipment services.
Due to the fact that Suvarnabhumi Airport’s location can be easily linked to other modes of transport, a variety of transport has, therefore, being developed. The Multi-modal is to support the overall transport. The Customs Free Zone is to provide convenience in the transfer of cargo in the Free Zone without any Customs issues unless it is external to the Free Zone which, as already mentioned, helps a lot in transit shipments. Also, the government has proposed an “Aviation Free” policy. This attempt will bring in more airlines to use Suvarnabhumi Airport as a transit base. Therefore, it is predicted that Suvarnabhumi Airport will eventually become a “Passenger Transit Center” as well as “Air Transportation Hub” of the region.
If things happen as predicted, Thai air cargo transport entrepreneurship must be adjusted and try to develop a higher capacity to compete with the increased number of in-coming airlines. At the same time, certain airlines must improve the quality of their services to respond to the customer’s needs.
And the Custom Free Zone will help the entrepreneur increase certain types of services. Relying on the Free Zone, those who import spare parts, i.e. electronic parts, can bring in needed spare items and put together certain products within the Free Zone compound and re-export for a final product. This procedure helps in capital reduction as spare parts sources with lower capital can be sorted out easily.
Supphachai Kaewsiri is confident that CFZ at Suvarnabhumi Airport will grow to 6 million tons within next 5 years.
Mr. Supphachai Kaewsiri, Director, Information and Technology Division, Thai Airport Ground Services Company Limited (TAGS) mentioned about the CFZ Project in which the CFZ at Suvarnabhumi Airport should be able to support at least 1.5 million tons of cargo, with the lowest capacity at 3 million tons and the highest capacity at 6 million tons in the year 2010. At present, the expansion rate of regular air cargo is at 5 % per year while expansion to over 10 % per year of express ones has been reported. It may go up to 20% for some international express service providers this year.
It is to mark that Suvarnabhumi is the first airport that adopts a radio wave system for items inspection or RFID (Radio Frequency Identification). This system will help ensure faster services than that done by a barcode system. Despite the higher budget used for the purchased system as well as tags, we are ready to bring them into the system in order to build up the capacity on the CFZ operation.
Due to the Asia-Pacific’s air cargo transport’s growth rate, TAGS is confident that Thailand is still equipped with a great strategy and still remains number one in Asia. Even though the current situation may cause some unsure confidence, Thailand, as a strategic country of Asia, is still a “selling point” regarding world air cargo transport and will still be in the future. The statistics report shows that, despite the fluctuation of the Chinese currency, last year’s transport from Asia to North America went up to 17.4 % compared with a growth rate of 5.6 % in 2004. On the other hand, cargo transport from North America to this region was affected by the dropping value of the US dollar. However the growth rate, due to the high demand from the Japanese on frozen products, was at 27.3% in 2004.
Transport from the Asia-Pacific to Europe is not at a high competition. Therefore, this type of business can make a great profit, 5.9 % of the growth rate, from 1999-2004. The growth rate (Asia to Europe) is 4.6% while Europe to Asia’s growth rate is 7 % .
Mr. Supphachai also mentioned on his ITF-FZ project that, after being assigned to take care of the project under the budget of 700 million Baht in 2005, TAGS had done its best according to the plan, and the project was already submitted on March 18, 2006. This project shows the great success of TAGS on behalf of the responsible party. Considering the national project with involvement of various sections, TAGS’ already did its best despite some slight obstacles.
Under the contract, TAGS will provide 2 years of continued support to ensure the best service after the opening. ITX-FZ will benefit the Thai people in various ways: 1. to promote Thailand to be Southeast Asia’s air transport hub; 2. to build up the capacity to provide a one- stop service; 3. to promote value-added activities within the cargo warehouse in order to support the expansion of the FTA; 4. to increase business opportunities for stakeholders; 5. to improve cost savings and skills as well as standards. Those mentioned areas will directly benefit Thailand’s economic expansion which is expected that Suvarnabhumi can support cargo transport services of up to 3 million tons/year in 2010 (regarding the capacity of ITX-FZ, Suvarnabhumi can support up to 6 million tons of cargo shipment).
The IT System and X-ray System for the Cargo Free Zone or ITX-FZ is the management of the Information and Technology System used for Suvarnabhumi’s Customs Free Zone management. This is one of the major government policies aimed at economic strengthening by developing Thailand as the Asian Logistics Hub. Submitting a master plan on information and technology management as well as major planning regarding Hardware and Software, TAGS was later approved to implement the project. TAGS has developed ACCS (Airport Cargo Community System) Systems to be used as a connection center concerning the operation both inside and outside the Customs Free Zone warehouse aimed at promoting faster services while serving as a transit area for cargo transport to a third country without the need of external cargo storage which normally causes a delay of service. To ensure the effective operation, TAGS’ contract will be 2 years prolonged for continued support after the completion of the system’s establishment.
Herbert Wongphoosanachai
DHL is ready.
Regarding the readiness of the air express transport business, DHL is one of them. Mr. Herbert Phoosanachai, Managing Director, DHL International (Thailand) Limited (DHL) assured that, using the rented areas in BFS’ cargo warehouse (a Bangkok Airway’s co-investing company), DHL had completed the construction of DHL’s cargo warehouse which is now ready to open. DHL will occupy approximately 5,000 sq. meters out of the whole area. According to this expansion, personnel must be increased and several structures will be adjusted to ensure cargo business expansion in the next 4-5 years.
Furthermore, DHL has introduced the “DHL Bangkok Hub”, one out of 6 strategies in the Asia-Pacific. At the present time, the DHL Transport Center has been developed throughout this region, with a total budget of 1.6 billion US dollars or approximately 6.4 ………..Baht. This not only includes the construction of a cargo warehouse for the improvement of the operation system of DHL within that free zone management, but also the new airport’s business operation system called “Single Window” which is a “Paperless” and finally “Paper Free” system. The system will be running through a computer system already connected with that of the Department of Customs.
Due to the establishment of Suvarnabhumi Airport, the entrepreneurs of Express Courier stated clearly that a fast and reliable supply chain must be developed. A door-to-door service must be introduced using up-to-date technology aimed at increasing the cargo and service’s value-addedness. Updated and on time delivered information must be ready for the customers. Also, E-commerce, a service provided with world linked business information to help in the consistent expansion of the business, will be available. Importantly, it must be a 24-48 hour service.
In addition, the entrepreneurs must speed up a new cargo transport service on “size and weight does not matter”. This could be another “selling point” that should be seriously promoted in the future. Combined with Suvarnabhumi’s operation capacity through the adoption of an excellent information and technology system, entrepreneur services concerning this issue could be more effective. Infrastructure and facilities regarding the Express Service Center as well as related equipment to be available throughout 24 hours are all in place and well-prepared to welcome the opening of Suvarnabhumi.
Another important part is that each entrepreneur of the express air transport service should put a focus on the development of the service center at Suvarnabhumi Airport. This is because China’s status has been upgraded as Asia’s significant service center. As a result, a number of express air service entrepreneurs have established a logistics hub to support the increasing demand of service in China. An important note is that China’s economic growth has been consistently developing, up to 8-10 % during the past 4-5 years. Today, China’s increasing role in express air transport seems to be more obvious.
Therefore, Thailand, Southeast Asia’s important strategic area for a Logistics Hub, should be able to effectively support and promote China as the Asian and Global Center. In addition, China should be able to involve more in this business development.
-----------------------------------------------------------------------


Experience Years of experience: 28. Registered at ProZ.com: Sep 2020. Became a member: Sep 2020.
ProZ.com Certified PRO certificate(s) N/A
Credentials N/A
Memberships N/A
Software Trados Studio
Events and training
Bio

Originally from Melbourne Australia, I moved to Thailand some time ago (how many years is not relevant). I initially learned some basic spoken Thai and progressed by teaching myself to read. One day, someone asked if I could read Thai and do translation. Initially, it was a little challenging but over time I got better and better, and now I am very proficient.

My core competency has been translating, editing, proofreading, organizing, and generating a variety of documentation for the Royal Thai Government, major state enterprises, universities, various NGOs, the private sector, and students of international and Thai universities.

Furthermore, for editing and proofreading English documents or academic work, I am not only familiar with American, Australian, and British English, but also Microsoft Tracking Changes as well as various referencing styles, such as APA and Harvard.

As such, I believe that a person of my professional caliber would be of immense value to your business and your clients.

My experience is not fixed on any one field or subject but is very diverse.

However, PLEASE NOTE - I will NOT translate anything related to the Thai Royal Family, as the language is very complex (ask a Thai).

Anyway, if you have a project that requires a translator, editor, and/or proofreader who has an in-depth understanding of Thailand and the academic and business world, then do not hesitate to contact me.

Keywords: Thai-English translation, English editing, English proofreading


Profile last updated
Oct 23, 2023



More translators and interpreters: Thai to English   More language pairs